ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Upas tree, Sacking tree
Upas tree, Sacking tree
Antiaris toxicaria Lesch.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Antiaris toxicaria Lesch.
 
  ชื่อไทย น่อง, น่องยางขาว , ยางน่อง
 
  ชื่อท้องถิ่น นอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เมี่ยนเดีย(เมี่ยน), ด่องชั่ว(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 60 เมตร ลำต้นตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 1.80 เมตร บางครั้งก็แตกพอนได้สูงถึง 3 เมตร ผิวเปลือกเรียบแต่บางครั้งก็แตกลายเล็กน้อย ด้านนอกสีขาวอมเทา ด้านในอ่อนเป็นเส้นใย มียางสีขาวหม่นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่และเป็นเม็ดเล็กๆ เมื่อถูกอากาศแห้ง กิ่งอ่อนมีขนละเอียดปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ก้านใบยาว 0.2-1.0 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม แผ่นใบรูปต่างกัน ตั้งแต่ค่อนข้างกลมไปถึงรูปหัวใจ รูปไข่ หรือขอบขนาน ขนาดกว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 7.5-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนแต่ค่อนข้างสมมาตร ขอบใบเรียบอาจมีหยักคล้ายฟันเลื่อยละเอียด ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเขียวจัดเป็นมัน
ดอก แยกเพศอยูบนต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบหรือใต้ง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มกลุ่มละ 2-4 ดอก ดอกเพศผู้มักจะอยู่ใต้ดอกเพศเมียในกิ่งเดียวกัน ดอกเพศผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก รวมกลุ่มกันคล้ายจานบนก้านช่อเดี่ยว ดอกย่อยมีกลีบรวม 2-7 กลีบ เกสร 2-4 อัน ดอกเพศเมียรูปไข่ อาจมีก้านช่อหรือไม่มี 1-2 ดอกต่อช่อ วงกลีบรวม 4 พู รังไข่เชื่อมติดกับวงกลีบรวม ก้านเกสรมีปลายแยกเป็น 2 แฉก
ผล รูปไข่ มีขนคล้ายกำมะหยี่ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด [9]
 
  ใบ ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ก้านใบยาว 0.2-1.0 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม แผ่นใบรูปต่างกัน ตั้งแต่ค่อนข้างกลมไปถึงรูปหัวใจ รูปไข่ หรือขอบขนาน ขนาดกว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 7.5-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนแต่ค่อนข้างสมมาตร ขอบใบเรียบอาจมีหยักคล้ายฟันเลื่อยละเอียด ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเขียวจัดเป็นมัน
 
  ดอก ดอก แยกเพศอยูบนต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบหรือใต้ง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มกลุ่มละ 2-4 ดอก ดอกเพศผู้มักจะอยู่ใต้ดอกเพศเมียในกิ่งเดียวกัน ดอกเพศผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก รวมกลุ่มกันคล้ายจานบนก้านช่อเดี่ยว ดอกย่อยมีกลีบรวม 2-7 กลีบ เกสร 2-4 อัน ดอกเพศเมียรูปไข่ อาจมีก้านช่อหรือไม่มี 1-2 ดอกต่อช่อ วงกลีบรวม 4 พู รังไข่เชื่อมติดกับวงกลีบรวม ก้านเกสรมีปลายแยกเป็น 2 แฉก
 
  ผล ผล รูปไข่ มีขนคล้ายกำมะหยี่ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยาง(สีขาว) ใช้ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- น้ำยาง มีพิษ ถ้าถูกแผลอาจทำให้ตายได้ใช้ชุบลูกดอกสำหรับล่า สัตว์(เมี่ยน)
- ราก ขับกระทุ้งพิษ แก้ไข้ทุกชนิด เปลือกและใบ แก้ไข้ น้ำคั้นจากใบ ใช้ในปริมาณน้อยเป็นยากระตุ้นหัวใจ น้ำยาง ใช้เป็นยาพิษ ทาลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ เมล็ด แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้บิด [5]
- ยาง จากใบและลำต้น ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และพม่า ใช้ทำลูกดอกอาบยาพิษ สารที่เป็นพิษ คือ antiarin ซึ่งมีฤทธิ์คล้าย strychnine มีรายงานว่าสารนี้จะทำให้ถึงตาย เมื่อเข้าไปในกระแลเลือดเท่านั้น ใช้ต้มเป็นยาแก้ไข้ ใส่แผลและแก้งูกัด
เปลือกต้น ใบ ใช้แก้ไข้ได้เป็นอย่างดี และมีฤทธิ์เป็นยาแก้บิด น้ำคั้นใช้ขนาดน้อยเป็นยากระตุ้นหัวใจอย่างอ่อน ถ้าใช้มากเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
เมล็ด มีรสขม แก้โรคท้องร่วง แก้ไข้ [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
[12] โครงการทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2544. ทรัพยากรพืชในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 12(1) : พืชสมุนไพรและพืชพิษเล่ม 1 . สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง